ข้อมูลผู้ผลิต
รูปภาพผู้ผลิต
รูปภาพที่อยู่อาศัย
วันเดือนปีเกิด: 21 มีนาคม 1984
ชื่อนามสกุล: นาง พรสุข ยงนันทเดช
เบอร์โทร: ติดต่อ คุณครูสุขกันดี ใจสนอง โทร 092-9633345
ที่อยู่: 47 ม.4 ต.แม่กิ๊ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
อาชีพ: ทอผ้า เกษตรกร
รายได้: 0.00 บาทต่อปี
บุตร-ธิดา:
-
รายละเอียดผู้ผลิต: วันที่ 18 มีนาคม 64 เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเดินทางจาก ศกร. ตชด. แม่ลางิ้ว ใช้ถนนหมายเลข 108 มุ่งหน้า ศกร.ตชด. ห้วยโป่งเลา จากนั้นใช้ถนนหมายเลข 1337 เข้าสู่ตำบลแม่กิ๊ ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเดินทางถึง ศกร.ตชด. ห้วยโป่งเลาในเวลา 15.30 น. พบ จ.ส.ต. วันชัย ชื่นสุขเลิศเกษม และคุณครูสุขกันดี ใจสนอง ครูผู้ดูแลเด็ก เมื่อทีมงานอธิบายบริบทของ มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือ มผข. ให้ฟังพอเข้าใจแล้ว ก็เดินทางเข้าหมู่บ้าน โดยไปที่บ้านของ นายบุญมี ใจสนอง สามีของครูสุขกันดี ซึ่งเป็นผู้ช่วยอธิบายงานของ มผข. ให้กับสมาชิกทอผ้าบ้านห้วยโป่งเลา เมื่อชาวบ้านเข้าใจและเห็นชอบด้วย ทีมเราจึงนัดให้ชาวบ้านนำผลิตภัณฑ์มาให้เดูที่โบสถ์คริสต์ กลางหมู่บ้านในวันที่ 19 มีนาคม 64 เวลา 9.00 น. จากนั้นทีมงานกลับเข้า ศกร.ตชด. ห้วยโป่งเลา เวลาประมาณ 21.00 น. เช้าวันที่ 19 มีนาคม 64 เวลา 9.00 น.ทีมงานพบชาวบ้านที่โบสถ์คริสต์ตามที่นัดไว้ บ้านห้วยโป่งเลามีลายผ้าที่เป็นแนวกะเหรี่ยงโบราณ ผสมผสานกับลายปักผ้าของเผ่าม้ง ซึ่งทางกลุ่มทอผ้าห้วยโป่งเลากำลังจะพัฒนาการทอและการปักรวมลายของสองชนเผ่าเข้าด้วยกันในคราวต่อไป หลังจากรับซื้อผลิตภัณฑ์และบันทึกประวัติผู้ผลิตครบแล้ว ทีมงานเดินทางต่อไปที่บ้านแม่ข่อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวาร ห่างจากห้วยโป่งเลาไม่มากนัก โดยการแนะนำจาก คุณครูสุขกันดี ทีมงานได้อธิบายบริบทของ มผข.แล้ว ชาวบ้านบ้านแม่ข่อได้นำผลิตภัณฑ์มาให้พิจารณา ทีม มผข. รับซื้อผลิตภัณฑ์จากชาวบ้านแม่ข่อ พร้อมบันทึกประวัติผู้ผลิตที่บ้านของแต่ละคน แล้วจึงเดินทางกลับมาพักค้างที่ ศกร.ตชด.ห้วยโป่งเลาอีก 1 คืน ปัจจุบัน นางพรสุข ยงนันทเดช ประกอบอาชีพเกษตรกร และ ทอผ้าเป็นอาชีพเสริม มีฝีมือในการทอผ้า เป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน ในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยโป่งเลาได้ทอผ้าไว้เพื่อฝากร้านค้าในเมืองจำหน่ายและซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเองในหมู่บ้าน พอเกิดการระบาดของโรคมากขึ้น จังหวัดประกาศ Lock down ผ้าที่เคยทอไว้ไม่สามารถจำหน่ายได้ เศรษฐกิจไม่ดีไม่มีนักท่องเที่ยวไม่มีผู้ซื้อ ทางกลุ่มจึงหันมาทำการเกษตร และไม่ได้รวมกลุ่มกันทอผ้าอีก จนเมื่อคุณครู สุขกันดี ใจสนอง ได้มาประชาสัมพันธ์เรื่องมูลนิธิ มผข. ที่ดำเนินการโดย ตชด. จะช่วยนำผลิตภัณฑ์ของชาวไทยภูเขาไปจำหน่ายให้เพื่อเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก จึงมีความสนใจมารับฟังบริบทการช่วยเหลือจากมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือ (มผข.) นางพรสุข และชาวบ้านเข้าใจและรับปากว่าจะทอผ้าเป็นอาชีพเสริมให้ครอบครัวพร้อมทั้งพัฒนาลายผ้าและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมการทอผ้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชาวกะเหรี่ยงพื้นบ้านเป็นที่นิยมต่อไป ...