ประวัติความเป็นมาของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานูเคราะห์ (ศผช.)

เมื่อปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์ จำนวน 10,000 บาท ให้ กก.ตชด. เขต 5 (ปัจจุบัน กก.ตชด.33) ดำเนินการส่งเสริมการ ผลิตหัตถกรรมในครัวเรือนชาวเขา โดยมีที่ปรึกษาอเมริกันร่วมดำเนินการในระยะเริ่มแรก

ในระยะแรกของการดำเนินงาน ศผช. เป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนาการ ที่ไม่มีรูปแบบ ของการดำเนินงานอย่างชัดเจน ซึ่งผู้บังคับบัญชาของ กก.ตชด.เขต 5 เดิมได้พยายามจัดรูปแบบ และวิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับการขยายตัวของกิจการ ที่ไม่ใช้ทั้งงานของราชการหรือนิติบุคคล โดย ใช้บ้านพักของที่ปรึกษาชาวอเมริกันเป็นที่ทำการ ซึ่งมีนางเบอร์ฟรุตซี่ ภรรยาที่ปรึกษาฯ เป็นผู้ ดำเนินงาน ตั้งอยู่ในซอยหมื่นด้ามพร้าคต ถนนโชตนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 คณะที่ปรึกษาอเมริกันได้หมดภารกิจไป กก.ตชด.เขต 5 เดิมได้รับมอบหมายงานจากที่ปรึกษามาดำเนินงานเองทั้งหมด โดยมีเงินสด 8,587.46 บาท และมีวัสดุอุปกรณ์รวมทรัพย์สินประมาณ 5,000 บาท แล้วย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่บ้านเลขที่ 22 ถนน ห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเช่าตึกแถวเอกชนอยู่ในราคาเดือนละ 1,800 บาท ดำเนินกิจการเรื่อยมา จนกิจการเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

เมื่อ 12 ก.พ. 2512 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ ได้พระราชทานเงินส่วน พระองค์ จำนวน 30,000 บาท ให้ยืมเป็นทุนสำรองเพื่อขยายกิจการ และ กก.ตชด. เขต 5 เดิมได้ถวายเงินคืน เมื่อ 28 ต.ค. 2512 ปี พ.ศ. 2514 กก.ตชด. เขต 5 ได้จดทะเบียนให้ ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ศูนย์ส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้ดำเนินกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าชาวเขา โดยมีเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ตระเวนชายแดนที่เกี่ยวข้อง เป็นหุ้นส่วนแต่ในนามโดยใช้ชื่อว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ชาวเขา" มีทุนจดทะเบียน จำนวน 287,891.63 บาท แยกเป็นทรัพย์สิน 272,015.13 บาท และเงินสด 15,876.90 บาท

รายงานผู้เข้าถือหุ้นส่วนแต่ในนาม จำนวน 7 นาย คือ

  1. พ.ต.อ.ไพโรจน์ ปุษยะนาวิน ยศในขณะนั้น
  2. พ.ต.ท.สุขเกษม ศรีวัฒนะ ยศในขณะนั้น
  3. พ.ต.ท.ชุบ สงวนสัตย์ ยศในขณะนั้น
  4. พ.ต.ต.มนัส ขันธทัตบำรุง ยศในขณะนั้น
  5. ร.ต.อ.วิจิตร บัวฝัน ยศในขณะนั้น
  6. ร.ต.อ.พัฒนเดช บุนนาค ยศในขณะนั้น
  7. พล ฯ สุวัฒน์ พิรารักษ์ ยศในขณะนั้น

โดยให้ทำสัญญาไว้ฉบับหนึ่งว่าทุนลงหุ้นทั้งหมดเป็นของ กก.ตชด. เขต 5 ผลกำไรห้าม นำไปแบ่งปันเป็นผลประโยชน์ส่วนบุคคลระหว่างผู้ถือหุ้นส่วน และเมื่อเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนแล้ว จะต้องยกทรัพย์สินให้แก่ กก.ตชด. เขต 5 (เดิม)

เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้ย้ายที่ทำการมาตั้งยังสถานที่แห่งใหม่ ณ บ้านเลขที่ 21/17 หมู่ 3 ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดที่ทำการและได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปี 2523 คณะกรรมการหุ้นส่วนได้พิจารณาแล้วเห็นว่าศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้จดทะเบียนเป็น "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" แบบการค้าธรรมดาไม่ได้เป็นนิติบุคคล และอีกสาเหตุหนึ่ง คณะกรรมการหุ้นส่วนทั้ง 7 นาย เป็นข้าราชการตำรวจไม่สามารถที่จะมีหุ้นส่วน หรือจดทะเบียน ทำการค้าขายได้แต่อย่างใด เพราะขัดต่อระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ประกอบกับศูนย์ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาต้องเสียภาษีถึง 30% ของกำไรสุทธิแต่ละปี ฉะนั้น เพื่อเป็นการขจัดปัญหา และเพื่อให้เกิดความมั่นคงในกิจการควรที่จะมีหลักการดำเนินงานที่แน่นอน สะดวกแก่การ บริหารงานและเกิดประโยชน์ต่อชาวเขาอย่างแท้จริง จึงมีมติที่ประชุมให้ยุบเลิกกิจการห้างหุ้นส่วน จำกัด ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา โดยมอบให้ ร.ต.อ.มนัส หยู่เย็น เป็นผู้แทนไปขอจดทะเบียน เลิกห้างหุ้นส่วนต่อ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 9 ม.ค. 23 และทางจังหวัดเชียงใหม่ได้อนุญาตให้ เลิกห้างหุ้นส่วนได้ พร้อมกับขอจดทะเบียนเป็น "มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์" ต่อไป

เมื่อ 10 มี.ค. 31 ได้เปิดสาขาการจำหน่ายขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่อาคารสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา เลขที่ 100/61 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา

ความมุ่งหมายของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา

  1. เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของชาวเขาด้วยการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขา
  2. เพื่อให้ชาวเขามีประสบการณ์ในด้านการตลาด และการจัดตั้งสหกรณ์
  3. เพื่อให้ชาวเขาได้รับผลจากการขาย หรือแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ในราคาที่เป็นธรรม
  4. เพื่อให้ชาวเขาผลิตสินค้าอื่นทดแทนการปลูกฝิ่น
  5. เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวเขากับประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

  1. ให้การผลิตสินค้าทั้งด้านการเกษตรกรรม หัตถกรรมและอื่น ๆ มีปริมาณและคุณภาพ ตรงตามความต้องการของท้องตลาด
  2. ให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นไปได้โดยยุติธรรม
  3. ให้เป็นศูนย์กลางการรวบรวมผลผลิตและจำหน่าย
  4. ให้เป็นแนวทางในการจัดตั้งสหกรณ์ในโอกาสต่อไป
  5. ให้เป็นแหล่งเผยแพร่และส่งเสริมวัฒนธรรม ตลอดจนกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์ของชาวเขา
  6. ให้เป็นแหล่งที่มาของทรัพย์สิน ของมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์

คณะกรรมการของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. คณะกรรมการอำนวยการ มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ประกอบด้วย
    1. ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 เป็นประธานกรรมการ
    2. รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 เป็นรองประธานกรรมการ
    3. ผู้กำกับการอำนวยการกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 เป็นกรรมการ
    4. รองผู้กำกับการอำนวยการกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 เป็นกรรมการ
    5. หัวหน้าแผนก 5 กองกำกับการอำนวยการกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 เป็นกรรมการและเลขานุการ
    6. หัวหน้าแผนก 1 กองกำกับการอำนวยการกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  2. คณะกรรมการดำเนินการของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ ประกอบด้วย
    1. ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นประธานกรรมการโดยตําแหน่ง
    2. รองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ผู้รับผิดชอบสายงานแผนก 5 กองกำกับการดตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นรองประธานกรรมการ
    3. รองผู้กำกับการดำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ผู้ได้รับมอบหมายจาก ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นรองประธานกรรมการ
    4. หัวหน้าแผนก 4 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นกรรมการ
    5. หัวหน้าแผนก 5 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 เป็นกรรมการและเลขานุการ
    6. ประจำแผนก 5 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแคนที่ 33 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สถานภาพของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา

ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา เป็นส่วนหนึ่งของแผนก 5 กองกำกับการตำรวจตระเวน ชายแดนที่ 33 ใช้เจ้าหน้าที่จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ร่วมกับบุคคลภายนอก ที่ว่าจ้างตามความจำเป็น งบประมาณที่ใช้บริหารศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา มาจากกำไรที่ได้ สะสมมาหมุนเวียนใช้จ่าย

สถานภาพทางการเงินของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา

สถานภาพทางด้านทรัพย์สินและการเงินของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้จัดทำในรูปของบัญซีร้านค้า มีผู้ตรวจสอบบัญชีจดทะเบียนเป็นผู้รับรองในงบดุล และงบการเงินของแต่ละปี ตั้งแต่มีการจดทะเบียน มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาได้มีการจัดทำงบดุลในนามของศูนย์ส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ชาวเขา

ผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาในปัจจุบัน

  1. มีชาวเขาที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา 7 เผ่า คือ ม้ง, เย้า, กะเหรี่ยง, อีก้อ, มูเซอ, ลื้อ, ลีซอ ซึ่งกระจายอยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ
  2. รับซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากชาวเขา นำมาจำหน่ายที่ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา
  3. จัดหาวัตถุดิบไปให้ชาวเขาผลิตในหมู่บ้าน
  4. จัดวิทยากรแนะนำการผลิตสินค้าชาวเขาตามที่ตลาดต้องการ
  5. ทำการจัดการอบรมวิชาชีพให้กับชาวเขา
  6. ร่วมจัดนิทรรศการ เนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ที่รัฐและเอกชนจัดขึ้น เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์สินค้าชาวเขา
  7. เปิดตลาดเพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ชาวเขา ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
  8. ส่งพนักงานเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับสินค้า บุคลากร
  9. ส่งพนักงานเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับงานหัตถกรรม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับชาวเขา
  10. สนับสนุนเงินผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้าชาวเขา ให้มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์นำไปสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  11. ให้การช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยที่ ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาชั่วคราวแก่ชาวเขาที่มาทำธุระในเมือง เช่น มารับการรักษาพยาบาลมาส่งสินค้าที่ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ซึ่ง ไม่สามารถกลับบ้านได้ เป็นต้น โดยเฉลี่ยมีชาวเขามาพักประมาณเดือนละ 20-30 คน
  12. ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา เป็นศูนย์กลางประสานงานและการประชาสัมพันธให้กับชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม

ความเป็นมาของมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาในพระบรมราชานุเคราะห์

กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนใบอนุญาตใน การจัดตั้งมูลนิธิต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ 3 ม.ค. 23 ให้จัดตั้งเป็น “มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์" ได้ตามหมายเลขทะเบียนที่ 1248 ลง 9 เม.ย. 23 โดยมีทุนในการขอ จดทะเบียน จำนวน 100,000 บาท (เป็นเงินสด 90,000 บาท และเงินพระราชทาน 10,000 บาท) มีคณะกรรมการ 8 นาย คือ

  1. พลตำรวจตรีวิชัย วิชัยธนะพัฒน์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ
  2. พันตำรวจเอกวีระวัฒน์ หิรัญยเลขา เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิ
  3. พันตำรวจเอกจรูญ สรณนรธรรม เป็นกรรมการ
  4. พันตำรวจไทพัฒนเดช บุนนาค เป็นกรรมการ
  5. พันตำรวจตรีสุจิตต์ ชาติอภิศักดิ์ เป็นกรรมการ
  6. ร้อยตำรวจเอกสุพจน์ เจริญสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ
  7. ร้อยตำรวจเอกมนัส หยู่เย็น เป็นกรรมการและเหรัญญิก
  8. นางสาวมาลี ศรีศฤงคาร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก

สำนักงานมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 100/61-62 ถนนห้วยแก้ว หมู่ที่ 1 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สำหรับอาคารที่ทำการมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ชาวเขาแห่งนี้ ได้นำเงินจากผลกำไรในการดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนส่งเสริมผลิตรัณฑ์ชาวเขา จำนวน 800,000 มาซื้อ

เมื่อ 28 ก.ย. 28 คณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา มีมติให้แยกการ ดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา และมูลนิธิส่งเสริมผลิตรภัณฑ์ชาวเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ ออกจากกันเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา คือ

  1. สงเคราะห์ช่วยเหลือ จัดเป็นทุนการศึกษาและค่าภาคปฏิบัติแก้นักเรียนชาวเขาที่เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  2. สงเคราะห์ช่วยเหลือ จัดเป็นสวัสดิการแก่ชาวเขา ที่มารับการรักษาพยาบาลเฉพาะผู้ที่ขัดสน
  3. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งศิลปหัตถกรรมประจำเผ่าต่าง ๆ ของชาวเขา
  4. ให้การสนับสนุนเงินทุน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ แก่ชาวเขาในการประกอบหัตถกรรมประจำเผ่าเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ให้มีปริมาณมากขึ้น และยึดถือเป็นอาชีพต่อไป
  5. ช่วยเหลือสงเคราะห์แก่ชาวเขา ผู้มีความเดือดร้อนในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
  6. ส่งเสริมและจัดหาตลาดสำหรับผลิตผลจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนของชาวเขา
  7. ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์แก่ชาวเขาผู้มีความเดือดร้อนในความเป็นอยู่
  8. ศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยน และให้ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาแก่หน่วยงานอื่น
  9. ร่วมมือกับองค์การกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
  10. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

ทรัพย์สินของมูลนิธิมีทุนเริ่มแรก คือ

  1. เงินพระราชทาน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
  2. เงินสด 90,000 (เก้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขาบริจาคสมทบ

มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้

  1. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระกิจอื่นใด
  2. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้จิตศรัทธาบริจาคให้
  3. ดอกผลซิ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ