ข้อมูลผู้ผลิต
รูปภาพผู้ผลิต
รูปภาพที่อยู่อาศัย
วันเดือนปีเกิด: 23 พฤศจิกายน 1994
ชื่อนามสกุล: น.ส. เกตุแก้ว ใฝ่ความดี
เบอร์โทร: 062-4287274
ที่อยู่: 153/3 ม.7 ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
อาชีพ: ครู อบจ. และทอผ้า
รายได้: 0.00 บาทต่อปี
บุตร-ธิดา:
รายละเอียดผู้ผลิต: วันที่ 29 มีนาคม 64 เดินทางจาก ศกร. ตชด.แอโก๋ (แสนคำลือ) ประมาณ เวลา 9.00 น. มุ่งหน้าลงมาซ่อมแซมปรับปรุงรถ อู่และร้านยางตรงข้ามศูนย์โตโยต้าสันป่าตอง ใช้เวลาเดินทาง 4ชั่วโมงครึ่ง ถึงที่หมายประมาณ 15.00 น. ฝนตกพักค้างที่ กก.ตชด.33 1 คืน เช้าวันที่ 30 มีนาคม 64 เดินทางจาก กก.ตชด.33 ประมาณเวลา 11.00 น. มุ่งหน้า ศกร.ตชด.ป่าข้าวหลาม ใช้ทางหลวงหมายเลข 1001ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 1414 และ 107 ต่อด้วย 3052 ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ถึงที่หมาย ศกร.ตชด.ป่าข้าวหลาม เวลาประมาณ 15.00น. เข้าพบพูดคุยกับ จ.ส.ต. ณรงค์ ธาทองกุล ในหน้าที่และบริบทของ มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือ (มผข.) ให้ทางคณะครูทราบ หลังจากนั้นทีมงานเดินทางเข้าหมู่บ้าน โดยมีครูฝึกอาชีพนักเรียน ครู อบจ.นส.เกตุแก้ว ใฝ่ความดี นำไปประชาสัมพันธ์กับ นางวาสนา ตีลู หัวหน้ากลุ่มทอผ้าประจำหมู่บ้านป่าข้าวหลาม ทีมงาน มผข. ได้อธิบายหน้าที่และบริบทของมูลนิธิฯ ให้กลุ่มทอผ้าหมู่บ้านป่าข้าวหลามได้รับฟัง หลังจากชาวบ้านเข้าใจที่มาของ ทีมงาน มผข. แล้ว ได้นัดแนะให้นำผลิตภัณฑ์มาที่บ้าน นางเกตุแก้ว ในวันรุ่งขึ้น เช้าวันที่ 31 มีนาคม 64 ทีมงาน มผข. เข้าหมู่บ้านพบกลุ่มผู้ทอผ้าบ้านป่าข้าวหลาม เวลาประมาณ 9.00 น. สมาชิกผู้ทอผ้าได้นำผลิตภัณฑ์มาให้ ทีมงาน มผข. คัดเลือกเพื่อนำไปช่วยจำหน่ายและช่วยสร้างอาชีพเสริมให้กับทางกลุ่มผู้ทอผ้าในอนาคตให้ด้วย ปัจจุบัน นส.เกตุแก้ว ใฝ่ความดี เป็นครู อบจ. สอนที่ ศกร. ตชด. ป่าข้าวหลาม และ ทอผ้าเป็นอาชีพเสริม มีฝีมือในการทอผ้า เป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน ในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดในกลุ่มบ้านห้วยโป่งเลาได้ทอผ้าไว้เพื่อฝากจำหน่ายกันร้านในเมืองและจำหน่ายกันเองในหมู่บ้าน พอเกิดการระบาดของโรคมากขึ้น จังหวัดประกาศ Lock down ผ้าที่เคยทอไว้ไม่สามารถขายได้ เศรษฐกิจไม่ดีไม่มีนักท่องเที่ยวไม่มีผู้ซื้อ จนเมื่อทีมงานได้มาประชาสัมพันธ์เรื่องมูลนิธิ มผข. ที่ดำเนินการโดย ตชด. จะมาช่วยส่งเสริมอาชีพและช่วยนำผลิตภัณฑ์ของชาวไทยภูเขาไปจำหน่ายให้เพื่อช่วยเป็นอาชีพเสริมจากการทำเกษตรซึ่งเป็นอาชีพลัก ก็เกิดความสนใจมารับฟังบริบทการช่วยเหลือของทาง มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือ (มผข.) และชาวบ้านเข้าใจและรับปากว่าจะทอผ้าพร้อมทั้งพัฒนาลายผ้าและรักษาไว้ซึ่งการทอผ้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชาวกะเหรี่ยงพื้นบ้านให้เป็นที่นิยมต่อไป เป็นอาชีพเสริมให้ครอบครัวและขอให้ มผข.ช่วยเหลือหาที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ในคราวต่อๆ ไป...