ข้อมูลผู้ผลิต

รูปภาพผู้ผลิต
รูปภาพที่อยู่อาศัย

วันเดือนปีเกิด: 01 มกราคม 1960

ชื่อนามสกุล: นางสุ ละอองแก้ว

เบอร์โทร: ด.ต.หญิง สีดา รุจิมนัส 096-3411621 ครู ศกร.ตชด.บ้านแม่ลอง

ที่อยู่: 115 ม. 12 ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,335 เมตร

อาชีพ: เกษตรกร, ทอผ้า

รายได้: 50000.00 บาทต่อปี

บุตร-ธิดา:
บุตรชาย 3คน เป็นศิษย์เก่า ศกร.ตชด. บ้านแม่ลอง

รายละเอียดผู้ผลิต: ทีมมูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือ มผข. เดินทางจาก บก.ตชด.ภาค 3 ผ่านเข้าอ.จอมทอง ขึ้นดอยอินทนนท์ แล้วลัดลงเข้าอ.แม่แจ่ม ทีม มผข. นัดพบ ด.ต. หญิง สีดา รุจิมนัส ครู ศกร.ตชด. แม่ลอง และเป็นผู้ประสานงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่บ้านแม่ลองและบ้านขุนปอนที่ตลาดแม่แจ่ม จากนั้นขึ้นยอดดอยเป้าหมาย รร. ตชด. แม่ลอง ทีมงานขึ้นถึงโรงเรียน ศกร.ตชด. แม่ลอง เวลาประมาณ 18.30 น. สูงจากระดับน้ำทะเล 1124 เมตร เก็บของที่โรงเรียนแล้วเดินทางต่อไปที่บ้านขุนปอน ต.บ้านทับ สูงจากระดับน้ำทะเล 1335 เมตร ถึงบ้านขุนปอน เวลาประมาณ 19.10 น. จอดรถเริ่มประชาสัมพันธ์ที่บ้านนางบุญรัตน์ อนุรักษ์วนภูมิ เพราะเป็นหัวหน้ากลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้ไม่มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้า มีแต่ไฟโซลาเซล สำหรับแสงสว่างจากหน่วยงานต่างๆมาติดตั้งให้ จากที่ครูสีดาได้รับข้อมูลจากทีม มผข. แล้วก็ได้อธิบายให้ชาวบ้านฟังในบริบทของ มผข. ชาวบ้านเข้าใจและเริ่มทยอยนำผลิตภัณฑ์มาให้ทีมงานได้ชม หลังจากทางทีมงานได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์แล้วก็เดินทางไปทำข้อมูลที่บ้านของชาวบ้านแต่ละคนที่เราตกลงคัดเลือกผลิตภัณฑ์แล้ว ทุกบ้านได้โชว์เครื่องมือในการทอผ้าให้ทีมงานดู และยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลครบทุกคนทุกบ้านแล้ว ทีมงาน มผข. พร้อมครู ตชด. ก็กลับสู่โรงเรียนในเวลาประมาณ 22.30 น. ปัจจุบันนางสุ ละอองแก้วเกศ ทำการเกษตร ทอผ้าหาลี้ยงชีพ มีลูก 3 คน ลูกเรียนจบประถมต้นที่ ศกร.ตชด.บ้านแม่ลอง นางสุ มีฝีมือในการทอผ้าดี เป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน ในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดในกลุ่มบ้านขุนปอนได้ทอผ้าไว้เพื่อฝากจำหน่ายกันร้านในเมืองและจำหน่ายกันเองในหมู่บ้าน พอเกิดการระบาดของโรคมากขึ้น จังหวัดประกาศ Lock down ผ้าที่เคยทอไว้ไม่สามารถขายได้ เศรษฐกิจไม่ดีไม่มีนักท่องเที่ยวไม่มีผู้ซื้อ ทางกลุ่มก็หันมาทำการเกษตร และไม่ได้รวมกลุ่มทอผ้ากัน เมื่อ ด.ต.หญิง ครูสีดา มาประชาสัมพันธ์เรื่องมูลนิธิ มผข. ดำเนินการโดย ตชด.จะมาช่วยส่งเสริมอาชีพและช่วยนำผลิตภัณฑ์ของชาวไทยภูเขาไปจำหน่ายให้เพื่อช่วยเป็นอาชีพเสริมจากการทำเกษตรซึ่งเป็นอาชีพลัก ก็เกิดความสนใจมารับฟังบริบทการช่วยเหลือของทาง มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวไหยภูเขา ในพระบรมราชานุเคราะห์ (มผข.) นางสุและชาวบ้านเข้าใจและรับปากว่าจะทอผ้าพร้อมทั้งพัฒนาลายผ้าและรักษาไว้ซึ่งการทอผ้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชาวกะเหรี่ยงพื้นบ้านให้เป็นที่นิยมต่อไป เป็นอาชีพเสริมให้ครอบครัวและขอให้ มผข.ช่วยเหลือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ในคราวต่อๆไป...